วันศุกร์, พฤษภาคม 18, 2555

คนทำงานไอซีทีเรียนไม่ตรงสายงานมากกว่าครึ่ง

ผลการสำรวจจำนวนและรายละเอียดของผู้ทำงานด้านไอซีทีในปีที่ผ่านมา พบว่า เกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย และมากกว่าครึ่ง ไม่ใช่ผู้ที่จบการศึกษาตรงกับสายงานที่ทำ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลการทำงานด้านไอซีทีของคนไทย ในปี 2554 ว่าทั่วประเทศมีประชากรทำงานในสายงานนี้ 493,563 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 446,805 คน หรือร้อยละ 90.5 เป็นผู้หญิง 46,758 คน หรือร้อยละ 9.5


โดยส่วนใหญ่ทํางานในเขตเทศบาลร้อยละ 57.3 และที่เหลืออยู่นอกเขตเทศบาลร้อยละ 42.7


โดยอยู่ในภาคกลางมากที่สุดร้อยละ 27 รองลงมา คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 24.9 คน กรุงเทพมหานครร้อยละ 22.1 ภาคเหนือร้อยละ 14.6 และภาคใต้ร้อยละ 11.4 คน ตามลําดับ


สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ทำงานด้านนี้ ไม่ได้จบการศึกษาด้านไอซีที โดยตรงถึงร้อยละ 56.1

และมีผู้จบการศึกษาเฉพาะด้านร้อยละ 43.9


เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาพบว่า จบในระดับอนุปริญญาตรี หรือ ปวส. ร้อยละ 19.3 ลำดับต่อมาคือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. ร้อยละ 9.9 ถัดมา คือระดับปริญญาตรีสูงที่สุดคือ ร้อยละ 12.9 และระดับสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 1.8


เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า ผู้ทํางานด้านไอซีที ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี ร้อยละ 41.1 รองลงมาคือ อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 19.5 ลำดับที่ 3 คืออายุ 35-39 ปี ร้อยละ 15.3

ส่วนประเภทกิจการที่ใช้งานบุคคลในกลุ่มนี้มากที่สุดคือ ภาคการค้าและการบริการ(274,486 คน ผปก.ไม่ต้องอ่าน) ร้อยละ 55.6 รองลงมาเป็นภาคการผลิต ( 218,847 คน ไม่ต้องอ่าน) ร้อยละ 44.3 ส่วนที่เหลืออยู่ ในภาคเกษตรกรรม (230คน) ร้อยละ 0.1


สําหรับเงินเดือนของผู้ทำงานด้านนี้ เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 13,297 บาท โดยภาครัฐบาล ให้ค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละ 15,881 บาท มากกว่าภาคเอกชนที่ให้ค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละ12,381 บาท

Produced by VoiceTV

by VoiceNews

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น